ภูมิหลัง ของ มาตรการรัดเข็มขัดในประเทศโรมาเนีย คริสต์ทศวรรษ 1980

ระหว่างปี 1950 ถึง 1975 เศรษฐกิจของโรมาเนียเติบโตเร็วที่สุดเป็นชาติหนึ่งของโลก[2] และในทศวรรษ 1960s ถึงต้นทศวรรษ 1970s นิโคไล เชาเชสกู ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำยุโรปตะวันออกที่ "มีสติปัญญา" ("enlightened")[3] ด้วยนโยบายภายในประเทศของเขา เขาพยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากผู้คนมากในช่วยปลายทศวรรษ 1960 ผ่านการเพิ่มค่าแรง, การปฏิรูประบบบำนาญ และการกระตุ้นการบริโภคผ่านการลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค[4]

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตมากในทศวรรษ 1970s การเติบโตส่วนมากมาจากการลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก (34.1% ของจีดีพีในแผนห้าปี 1971-1975) มากกว่าจะมาจากการบริโภค[2] บางอุตสาหกรรมเช่นปิโตรเคมี และ เหล็กกล้า มีความสามารถการผลิตสูงกว่าอุปสงค์ในตลาดท้องถิ่นและตลาดภายนอกที่มีอยู่ นำไปสู่ความสามารถใช้งานที่ไม่ถูกใช้เต็มที่ (underused capacities)[2] โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากทั้งจากหน่วยการผลิตที่มีผลผลิตมากแต่ไม่มีประสิทธิภาพ และการปลอมแปลงสถิติกับการกักตุนสินค้าที่ขายไม่ออก[2]

เศรษญกิจของโรมาเนียมีความโน้มเอียงพิเศษให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ โดย 87% ของแรงงานอุตสาหกรรม และ 85% ของอุปทาน เป็นของธุรกิจที่มีพนักงานมากกว่า 1000 คน ทำให้เกิดการขาดความยืดหยุ่นในเศรษฐกิจของประเทศ[1]

Daniel Dăianu ระบุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีในยุคนี้ ถือเป็นการเติบโตอย่างยากไร้ (immiserizing growth) เนื่องจากการกลายเป็นอุตสาหกรรมและการเพิ่มการพึ่งพากับเศรษฐกิจแบบตลาดถูกเร่งให้เกิดเร็วขึ้น บนพื้นฐานโครงสร้างที่อ่อนแอ ผ่านการปฏิเสธกลไกของตลาด[5] การเจริญเติบโตแบบนี้ทำให้การส่งออกถูกจำกัดการเติบโต และเงินที่นำมาจ่ายการกู้ยืมมาจากส่วนต่างในการนำเข้า[5]